Tuesday, February 28, 2012

2. สถานที่ท่องเที่ยวที่ประทับใจ






ที่ตั้งและแผนที่
อุทยานแห่งชาติแม่ปิง
81 หมู่ 6 ตำบลแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน 51110
โทรศัพท์ : 053546336


หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ : นายยศวัฒน์ เธียรสวัสดิ์


อุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และอำเภอสามเงา จังหวัดตาก เป็นป่าที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และสัตว์ป่า มีทิวเขาทอดยาวเหยียดสลับซับซ้อน ลำห้วยน้อยใหญ่หลายสิบสาขาไหลผ่านที่สำคัญคือ ลำห้วยแม่หาด ลำห้วยแม่ก้อและทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามโดยเฉพาะพื้นที่ป่าตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของลำน้ำปิงตอนเหนือของอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล มีเนื้อที่ประมาณ 627,346 ไร่ หรือ 1,003.7536 ตารางกิโลเมตร

เนื่องจากคณะกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวสภาจังหวัดลำพูน ได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2521 เสนอแนะให้จังหวัดลำพูน จัดตั้งวนอุทยานขึ้นครอบคลุมบริเวณจุดท่องเที่ยวต่างๆ ในป่าสงวนแห่งชาติแม่หาด-ป่าแม่ก้อ ท้องที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เพื่อจะได้เข้าไปควบคุมและจัดระเบียบกิจกรรมการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในพื้นที่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งทางสำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ได้ให้ นายเฉลียว นิ่มนวล ไปสำรวจพื้นที่และมีความเห็นควรจัดเป็นวนอุทยานขึ้น จึงรายงานให้กรมป่าไม้ดำเนินการ ประกอบกับทางจังหวัดลำพูนได้เสนอให้กรมป่าไม้จัดพื้นที่ป่าแม่หาด-แม่ก้อเป็นแหล่งสงวนพันธุ์สัตว์ป่าหรืออุทยานแห่งชาติเช่นกัน ตามรายงานการสำรวจของ นายจีรเดช บารมี เจ้าพนักงานป่าไม้ 3 ประจำอำเภอลี้ ดังนั้นในเดือนธันวาคม 2522 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่ง ที่ 2294/2522 ให้ นายสัมพันธ์ มิเดหวัน เจ้าพนักงานป่าไม้ 3 ไปทำการสำรวจอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่า พื้นที่ป่าแม่หาด-แม่ก้อ เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพป่าสมบูรณ์ดี มีทิวทัศน์สวยงามดีและมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ ที่สำคัญหลายแห่ง เช่น น้ำตกก้อหลวง ทุ่งหญ้า มีสัตว์ป่าชุกชุม เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือรายงานการสำรวจ ที่ กส 0708(มก)/51 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2523

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 ให้กำหนดพื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่หาดและป่าแม่ก้อ ในท้องที่ตำบลดอยเต่า ตำบลโป่งทุ่ง อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ตำบลแม่ลาน ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และตำบลบ้านนา ตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา จังหวัดตาก เนื้อที่ประมาณ 626,875 ไร่ หรือ 1,003 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 115 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2524 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 32 ของประเทศ

อนึ่งในระหว่างดำเนินการจัดตั้งได้ใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติแม่หาด-แม่ก้อ ต่อมาเมื่อ ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว กรมป่าไม้จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น อุทยานแห่งชาติแม่ปิง เพราะแนวเขตอุทยานแห่งชาติซีกซ้ายทั้งหมดครอบคลุมลำน้ำแม่ปิง ซึ่งเป็นเส้นน้ำสายใหญ่ และมีธรรมชาติที่สวยงาม เป็นจุดเด่นที่สำคัญของอุทยานแห่งชาติ

ต่อมาได้มีการขยายเขตอุทยานแห่งชาติให้ครอบคลุมทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1087 ในท้องที่ตำบลแม่ลาน และตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ระยะทาง 14.198 กิโลเมตร เนื้อที่ประมาณ 471 ไร่ หรือ 0.7536 ตารางกิโลเมตร เพื่อให้สามารถควบคุม ป้องกัน และปราบปรามการลัดลอบตัดไม้ทำลายป่า ล่าสัตว์ และเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 59 ก ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2537 


ขนาดพื้นที่
627346.00 ไร่


หน่วยงานในพื้นที่
อุทยานแห่งชาติแม่ปิง
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิงที่ มป.1 (น้ำตกก้อ)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิงที่ มป.2 (แก่งก้อ)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิงที่ มป.3 (ทุ่งกิ๊ก)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิงที่ มป.4 (แม่ลาน)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิงที่ มป.5 (ดอยเต่า)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิงที่ มป.6 (บ้านก้อ)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิงที่ มป.7 (ถ้ำหม้อ)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิงที่ มป.8 (ห้วยฟ้าผ่า)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิงที่ มป.9 (ผาดำผาแดง)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิงที่ มป.10 (อุ้มปาด)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิงที่ มป.11 (ดอยขุนเม่น)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิงที่ มป.12 (ถ้ำยางวี)


ภาพแผนที่


ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ทอดแนวจากทิศเหนือในเขตพื้นที่อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ จรดทิศใต้บริเวณตอนเหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ภูเขาส่วนใหญ่มีความสูงโดยเฉลี่ยอยู่ในช่วง 400-800 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มียอดเขาที่สูงที่สุดชื่อ “ดอนห้วยหลาว” อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีความสูงประมาณ 1,334 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เทือกเขาเหล่านี้เป็นต้นน้ำลำธารของห้วยแม่หาด ห้วยแม่ก้อ ห้วยโป่งกะ ห้วยม่วง ห้วยขุนเม่น ห้วยไคร้ เป็นต้น ห้วยต่างๆ เหล่านี้จะไหลลงสู่ลำน้ำปิงที่ทอดยาวตลอดแนวเขตพื้นที่ด้านทิศตะวันตก

สำหรับพื้นน้ำส่วนที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิง เริ่มจากอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ไหลลัดเลาะตามหุบเขา โตรกผา ลงมาทางทิศใต้จนถึงตอนบนของอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีความยาวประมาณ 100 กิโลเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ยของลำน้ำแม่ปิงประมาณ 500 เมตร ความลึกโดยเฉลี่ยประมาณ 30 เมตร ส่วนที่กว้างที่สุดของลำน้ำแม่ปิงในเขตอุทยานแห่งชาติ อยู่ทางตอนใต้บริเวณเหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล เขตอำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีความกว้างประมาณ 6 กิโลเมตร โดยทั่วไปชาวบ้านเรียกว่า “บ่อลม” และ “พระบาทห้วยห้าง” 

ลักษณะภูมิอากาศ
โดยทั่วไปอุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับท้องถิ่นใกล้เคียงของจังหวัดในภาคเหนือ แต่เนื่องจากลักษณะความสูงต่ำของภูมิประเทศและการมีป่าปกคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง ภูมิอากาศบางส่วนจึงแตกต่างไปจากบริเวณโดยรอบอยู่บ้าง โดยอุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นที่ตอนบนของอุทยานแห่งชาติประมาณ 25 องศาเซลเซียส ในขณะที่อุณหภูมิตอนล่างของพื้นที่บริเวณเขื่อนภูมิพลและเขตจังหวัดตากจะสูงกว่าเล็กน้อยประมาณ 27 องศาเซลเซียส ฝนตกในบริเวณทางตอนเหนือของพื้นที่อุทยานแห่งชาติมากกว่าทางตอนใต้ เดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกมากที่สุด ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,060-1,184 มิลลิเมตรต่อปี 

พืชพันธุ์และสัตว์ป่า
พื้นที่ป่าส่วนใหญ่เป็นป่าผลัดใบ ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะตามเทือกเขาที่เป็นดินปนทรายและมีความสูงไม่เกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ส่วนที่เหลือประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นป่าดงดิบขึ้นอยู่เป็นพื้นที่แคบๆ ตามหุบเขาและริมลำห้วย

ป่าเต็งรัง เป็นสังคมพืชที่มีเนื้อที่มากที่สุดในอุทยานแห่งชาติแม่ปิง พบอยู่ทั่วไปทั้งในที่ราบ ตามลาดเขาสูงชัน และบนสันเขา ในระดับความสูงจากน้ำทะเล 450-1,000 พันธุ์ไม้ที่พบบ่อย ได้แก่ เต็ง รัง พลวง เหียง ก่อแพะ มะขามป้อม กุ๊ก รกฟ้า มะกอกเกลื้อน แสลงใจ ผักหวาน ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ เป้ง ปรง กวาวเครือ กล้วยไม้ดิน และหญ้าชนิดต่างๆ

ป่าเบญจพรรณ พบขึ้นไปทั่วทั้งในที่ราบและตามลาดเขา ในระดับความสูงจากน้ำทะเลระหว่าง 450-800 เมตร ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ สัก แดง กระพี้เขาควาย มะกอกเกลื้อน กระพี้จั่น ประดู่ ตะคร้อ เก็ดแดง ตีนนก ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ เสี้ยวป่า ไผ่รวก ไผ่ซางนวล ไผ่หนาม ไผ่บง เป้ง กวาวเครือ ถั่ว ปอยาบ เป็นต้น ในบริเวณของป่าผลัดใบทั้งสองชนิดนี้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของ กระต่ายป่า เก้ง วัวแดง ไก่ป่า นกกระทาทุ่ง นกคุ่ม นกหัวขวานใหญ่สีดำ นกหัวขวานใหญ่สีเทา นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกหัวขวานเขียวตะโพกแดง นกขุนแผนนกกระจิบหญ้าสีข้างแดง แย้ ตะกวด และงูกะปะ เป็นต้น

ป่าดงดิบ ประกอบด้วยป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะเคียนทอง มะค่าโมง มะม่วงป่า กระบก มะกอก และสมอพิเภก เป็นต้น เป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งหลบซ่อนตัวของหมีควาย วัวแดง ลิงลม ลิงวอก ชะนีมือขาว กระรอก นกแก๊ก นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ และนกเขียวคราม ในบริเวณทุ่งหญ้า เช่น ทุ่งกิ๊ก และทุ่งนางู ซึ่งเป็นที่ราบบนเนินเขา สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 550 เมตร ดินเป็นดินเหนียวปนทรายหรือลูกรัง มีความลึกพอสมควร มีไฟป่าเกิดเป็นประจำ มีไม้ยืนต้นขนาดเล็กขึ้นกระจายอยู่ห่างๆ ได้แก่ รักขาว รกฟ้า และสมอไทย ส่วนไม้พื้นล่างได้แก่ เป้ง หญ้าคา ถั่ว และกระเจียว เป็นต้น เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เช่น กระจ้อน กระแต อ้นเล็ก เก้ง หมูป่า เม่นใหญ่แผงคอสั้น ชะมด อีเห็น นกปรอดสวน นกปรอดต่างๆ นกกะลิง นกจาบคา นกหัวขวานเขียวตะโพกแดง นกกะติ๊ดขี้หมู เหยี่ยวขาว นกคุ่มอืด นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน คางคกบ้าน เขียดหนอง อึ่งอี๊ดต่างๆ เป็นต้น ตามบริเวณยอดเขา หลืบผา ถ้ำ และหน้าผาหินปูน เป็นที่อาศัยของเลียงผา กวางผา เม่นใหญ่แผงคอสั้น อ้นใหญ่ ลิงวอก ชะมด อีเห็น กระรอก ค้างคาว และเป็นที่สร้างรัง วางไข่ของเหยี่ยวชนิดต่างๆ และนางแอ่นตะโพกแดง ในบริเวณริมฝั่งน้ำ พื้นที่ชายน้ำ หรือในแหล่งน้ำเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของนากใหญ่ พังพอนกินปู เสือปลา เหี้ย นกอีล้ำ เป็ดแดง นกกระสานวล นกยางกรอกพันธุ์จีน นกยางเขียว นกกวัก เต่าหวาย ตะพาบน้ำ งูลายสอ เขียดหนอง เขียดหลังเขียว ปลารากกล้วย ปลาก้าง ปลาดุก ปลาไหล เป็นต้น

สัตว์ป่ามีอยู่ชุกชุมโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามริมฝั่งแม่น้ำปิง เช่น เก้ง วัวแดง หมูป่า หมีควาย เลียงผา กวางผา เสือปลา ไก่ป่า ชะมดเช็ด ลิง ค่างเทา ชะนี หมาจิ้งจอก กระต่ายป่า กระรอก นอกจากนี้ ยังมีนกชนิดต่างๆ ทั้งนกประจำถิ่น และย้ายถิ่นอีกมากมายภายในเขตอุทยานแห่งชาติ รวมทั้งยังเป็นแหล่งพันธุ์ปลาน้ำจืดที่สำคัญ เช่น ปลานิล ปลาสวาย ปลาเนื้ออ่อน ปลาตะเพียน ปลาบู่ ปลาแรด ปลาสังกะวาด ปลากระสูบ เป็นต้น 

การเดินทาง
รถยนต์
จากกรุงเทพมหานคร โดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข A1 (พหลโยธิน) ผ่านจังหวัดต่าง ๆ ขึ้นมาทางภาคเหนือ ผ่านจังหวัดตาก เข้าเขตอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง แล้วแยกซ้ายเข้าเส้นทางหมายเลข 106 ที่ต่อเนื่องมาจากจังหวัดลำพูน จนถึงกิโลเมตรที่ 47 แล้วแยกซ้ายเข้าเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1087 เข้าสู่อุทยานแห่งชาติแม่ปิง โดยที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ปิงอยู่ระหว่างกิโลเมตรที่ 20 – 21 รวมระยะทาง 587 กิโลเมตร

จากจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 ผ่านอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เข้าเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ผ่านอำเภอป่าซาง อำเภอบ้านโฮ่ง จนถึงอำเภอลี้ ผ่านอำเภอลี้ประมาณ 3 กิโลเมตรจะถึงทางแยกขวาเข้าเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1087 เข้าสู่อุทยานแห่งชาติแม่ปิง รวมระยะทาง 155 กิโลเมตร

จากจังหวัดลำปาง โดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข A1 (พหลโยธิน) มาทางทิศใต้แล้วแยกขวาเข้าสู่อำเภอเกาะคา โดยใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1274 ผ่านอำเภอเสริมงาม อำเภอลี้ จะถึงทางแยกซ้ายเข้าเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 ประมาณ 3 กิโลเมตร จะถึงทางแยกขวาเข้าเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1087 เข้าสู่อุทยานแห่งชาติแม่ปิง รวมระยะทาง 123 กิโลเมตร

เรือ
จากท่าเรือเหนือเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ขึ้นเหนือไปตามลำน้ำแม่ปิง ผ่านบริเวณท่าน้ำแก่งก้อ จนถึงท่าเรืออำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ รวมระยะทางประมาณ 110 กิโลเมตร

จุดชมวิวพระอาทิตย์ตกที่ดอยกะตึก บริเวณแก่งก้อ


น้ำตกก้อน้อย เป็นสถานที่เหมาะสำหรับกลางเต้นพักแรมและกิจกรรมเชิงผจญภัย ในช่วงต้นฤดูหนาว จากบริเวณทุ่งกิ๊กเข้าไปอีก 9 กิโลเมตร สามารถชมทะเลหมอกที่สวยงามได้




บรรยากาศที่แก่งก้อ

No comments:

Post a Comment